29 เมษายน 2552

ขั้นตอนการสมัครงาน

1. การเตรียมตัวก่อนการสมัครงาน

2. การกรอกใบสมัคร

3. การเขียนประวัติย่อ (RESUME)

4. การเขียนจดหมายสมัครงาน

5. การสอบข้อเขียน หรือการทดสอบความสามารถ

6. การสัมภาษณ์

7. การติดตามผล

1. การเตรียมตัวก่อนการสมัครงานได้แก่
การเตรียมตัว เตรียมใจ เตรียมบุคลิกท่าทาง ตลอดจนเตรียมหลักฐานเอกสารต่าง ๆ ที่จำเป็นต้องใช้ ในการสมัครงานไว้ให้พร้อม เช่นบัตรประชาชน ทะเบียนบ้าน ใบรับรองผลการศึกษา ประกาศนียบัตร ปริญญาบัตร ประวัติย่อ ซึ่งหลักฐานเหล่านี้ ควรมีการ ถ่ายเอกสาร เตรียมไว้เป็นชุด ๆ หลาย ๆ ชุด เพื่อพร้อมที่จะใช้ได้ทันทีรูปถ่ายขนาด 2 นิ้ว เขียนชื่อ-นามสกุล หลังรูป จดหมายรับรองการฝึกงาน (ถ้าเคยฝึกงาน)หนังสือรับรองการทำกิจกรรมนิสิต ใบยกเว้นการรับราชการทหารเครื่องใช้ในการกรอกใบสมัคร ปากกา (ดำหรือน้ำเงิน) ยางลบ ไม้บรรทัดชื่อที่อยู่ของผู้ที่เราจะอ้างอิงถึง (ขออนุญาตเสียก่อน) เสื้อผ้าชุดที่เรียบร้อยที่สุดหรือชุดที่ทำให้เรามั่นใจมากที่สุด ข้อมูลเกี่ยวกับบริษัท-หน่วยงานที่เราต้องการสมัคร รวมทั้งลักษณะงานในตำแหน่งที่สมัคร

2. การกรอกใบสมัคร
ใบสมัครนับเป็นเครื่องมือลำดับแรกในการคัดเลือกบุคลากรเข้าทำงาน เพราะส่วนใหญ่ใช้วิธีการคัดเลือกผู้สมัครเข้ารับการสัมภาษณ์ โดยพิจารณาจากรายละเอียดในใบสมัคร เช่น กิจกรรมที่เคยทำขณะศึกษาอยู่ลักษณะของงานและความรับผิดชอบที่มีอยู่ นอกจากนี้ ผู้สัมภาษณ์ยังใช้ศึกษาเพื่อทำความคุ้นเคยกับผู้สมัครและจะเตรียมการซักถามเพิ่มเติมถึงรายละเอียดในบางหัวข้อ ขณะทำการสัมภาษณ์ ดังนั้น ผู้สมัครจึงควรทำความเข้าใจกับใบสมัครก่อนที่จะกรอกเพื่อจะได้กรอกได้อย่างถูกต้องเรียบร้อยและดึงดูดความสนใจ ของผู้พิจารณาใบสมัคร

3. การเขียนประวัติย่อ (RESUME)
คำว่า "Resume" นี้ มาจากภาษาฝรั่งเศส ว่า resume ซึ่งก็มีความหมายว่า Summary แปลเป็นไทยว่า สรุป หรือ ย่อ ฉะนั้นเวลาเขียนจะใช้สะกดแบบฝรั่งเศส หรือแบบอังกฤษก็ได้ด้วยกันทั้งสองแบบปัจจุบันนี้ Resume นับว่ามีความสำคัญเท่า ๆ กับจดหมายสมัครงาน (Application Letter) ก็แทบจะว่าได้ จะเห็นได้จาก ข้อความที่ลงโฆษณางานตามหนังสือพิมพ์ หรือนิตยสารต่าง ๆ โดยฝ่ายนายจ้างจะบอกให้ผู้สมัครส่ง Resume แนบไปพร้อม กับจดหมายสมัครงานด้วย ดังจะดูได้จากข้อความที่ลงโฆษณา ซึ่งจะระบุโดยละเอียดว่าผู้สมัครต้องแนบเอกสารอะไร ไปพร้อมกับจดหมายนี้บ้าง เช่น

3.1. Please submit application letter stating expected salary, resume and a recent photo to ... (โปรดยื่นจดหมายสมัครงานพร้อมทั้งแจ้งเงินเดือนที่ต้องการ พร้อมทั้งแนบประวัติย่อและรูปถ่ายปัจจุบันหนึ่งรูปไปที่ ....)

3.2. Please send handwritten application, resume, transcript and a recent photo to ... (โปรดส่งจดหมายสมัครงานเขียนด้วยลายมือแนบประวัติย่อ ผลการศึกษาและรูปถ่ายปัจจุบันไปยัง....)รายละเอียดในประวัติย่อResume เปรียบเสมือนเครื่องเปิดประตูที่ดี กล่าวคือ ให้รายละเอียดเกี่ยวกับตัวผู้สมัครได้โดยย่อ และสามารถทำให้ผู้อ่านเข้าใจได้ ภายในเวลาอันรวดเร็ว นอกจากนี้ ยังเปรียบได้กับใบโฆษณาคุณสมบัติของตนเองอีกด้วย เมื่อเป็นเช่นนี้ ผู้เขียนก็ต้องให้ความสนใจ เป็นพิเศษว่าใน Resume นั้น ควรจะต้องประกอบด้วยรายละเอียดอะไรบ้าง และมีระเบียบที่จะต้องปฏิบัติอย่างไรลักษณะของ Resume ที่ดี
  • ยาวไม่เกิน 2 หน้ากระดาษ ซึ่งมีขนาด A4 (หรือประมาณ 8"x12") และเป็นกระดาษสีขาว มีคุณภาพ แต่ถ้าเป็นนักศึกษาจบใหม่ ด้วยแล้ว ควรจะเขียนให้จบในหนึ่งหน้ากระดาษเท่านั้น และรวมเฉพาะรายละเอียดที่จำเป็น และต่อประเด็นจริง ๆ เท่านั้น
  • อย่าใช้คำย่อในคำที่ไม่ควรย่อ เช่น วันเดือนปีเกิด ควรเขียนคำเต็ม ส่วนคำอื่น ๆ ถ้าจะย่อหรือไม่ย่อนั้น ให้ดูตามหลักสากลนิยมเป็นตัวอย่าง
  • ในกรณีที่ระบุงานอดิเรกเข้าไว้ด้วย ควรระวังว่างานอดิเรกที่เราเอ่ยถึงนั้นมีความเหมาะสมกับงานที่เราสมัครหรือเปล่า

4. การเขียนจดหมายสมัครงาน
การเขียนจดหมายสมัครงานต้องพิมพ์ให้สะอาดเรียบร้อยด้วยกระดาษพิมพ์ขนาดสั้น (8x1/2" x 11") ทุกครั้ง แต่ถ้าในประกาศรับสมัครระบุให้เขียนด้วยลายมือตนเอง ก็ควรเขียนตัวบรรจง ให้อ่านง่ายสะอาดเรียบร้อยและสวยงามควรมีความยาวจำกัดเพียง 1 หน้ากระดาษใช้ฟอร์มการเขียนแบบจดดหมายธุรกิจ และต้องปราศจากข้อผิดพลาดใด ๆ ทั้งสิ้นควรกล่าวเจาะจงนามบุคคลแทนการกล่าวตำแหน่งหรือผู้เกี่ยวข้อง (คุณ...แทน ผู้จัดการฝ่ายบุคคล) แต่ถ้าไม่แน่ใจว่าจะสามารถสะกด ชื่อ-นามสกุล ได้อย่างถูกต้อง หรือไม่ทราบแน่ชัดว่าเป็นใครก็ควรจะใช้ "ผู้จัดการฝ่ายบุคคล" หรืออื่น ๆ ที่ประกาศรับสมัครงานระบุไว้ต้องส่งพร้อม RESUME ทุกครั้ง ข้อมูลที่ปรากฏอยู่บนจดหมายแนะนำหรือจดหมายสมัครงานควรที่จะทำให้นายจ้างหรือแผนกบุคคลสนใจและเรียกตัวเข้าสัมภาษณ์ ข้อมูลที่กล่าวนี้อาจแบ่งออกเป็น 3 ส่วน ดังนี้

4.1. คุณเป็นใคร และทำไมคุณจึงเขียนจดหมายส่งไปยังบริษัท
4.2. กล่าวถึงความสามารถของคุณที่คาดว่าจะมีคุณค่าต่อบริษัท
4.3. กล่าวถึงความสนใจของคุณที่มีต่อบริษัทโดยการพูดถึงสิ่งที่เด่นเป็นเอกลักษณ์ของบริษัท เพื่อแสดงให้เห็นว่าคุณได้สละเวลาศึกษาค้นคว้าความรู้เกี่ยวกับบริษัท

โดยสรุปแล้วย่อหน้าสุดท้ายของจดหมายสมัครงานมีไว้เพื่อ
1. ขอนัดเวลาสัมภาษณ์
2. ขอฟังคำตอบจากนายจ้างหรือแผนกบุคคล
3. บอกว่าคุณจะติดต่อภายหลังโปรดจำไว้เสมอว่าจดหมายสมัครงานต้องส่งควบคู่กับ RESUME ทุกครั้ง

หลักสูตรโปรแกรมวิชาการบริหารธุรกิจ (คอมพิวเตอร์ธุรกิจ)

หลักสูตรโปรแกรมวิชาการบริหารธุรกิจ (คอมพิวเตอร์ธุรกิจ)
โปรแกรมวิชาการบริหารธุรกิจ แขนงวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ ระดับปริญญาตรี (หลังอนุปริญญา)หลักสูตรโปรแกรมวิชาการบริหารธุรกิจ แขนงวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจBachelor of Business Administration Program in Business Computerชื่อ ปริญญา ชื่อเต็ม : ปริญญาการบริหารธุรกิจบัณฑิต (คอมพิวเตอร์ธุรกิจ)Bachelor of Business Administration (Business Computer) ชื่อย่อ : บธ.บ. (คอมพิวเตอร์ธุรกิจ)B.B.A. (Business Computer)

จุดประสงค์เฉพาะ

1. เพื่อผลิตบุคลากรที่มีความรู้ ความสามารถในการบริหารธุรกิจระดับวิชาชีพ (Professional) ในวิชาบริหารธุรกิจเฉพาะทาง ในวิชาการด้านต่าง ๆ ที่สามารถนำไปประกอบอาชีพได้อย่างมีประสิทธิภาพ
2. เพื่อผลิตบุคลากรที่มีความรู้ความเข้าใจในระบบเศรษฐกิจและสังคม สามารถนำไปใช้ในการตัดสินใจ ดำเนินธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ
3. เพื่อผลิตบุคลากรที่สามารถติดตามและปรับตัวให้เข้ากับสภาพการเปลี่ยนแปลง ความก้าวหน้าในเทคโนโลยีฯ และการบริหารธุรกิจในงานอาชีพ
4. เพื่อผลิตบุคลากรที่มีเจตคติและค่านิยมในการประกอบอาชีพอิสระอย่างมีคุณภาพ จริยธรรม และปัญญาธรรมโครงสร้างหลักสูตรมีหน่วยกิตการเรียนตลอดหลักสูตรในแขนงวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจไม่น้อยกว่า 73 หน่วยกิต และมีสัดส่วนหน่วยกิต แต่ละหมวดวิชาและแต่ละกลุ่มวิชา ดังนี้

1. หมวดวิชาการศึกษาทั่วไป 18 หน่วยกิต
(1) กลุ่มวิชาภาษาและการสื่อสาร 3 หน่วยกิต
- 1500103 ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารและทักษะการเรียน 3(3-0)
(2) กลุ่มวิชามนุษยศาสตร์ 6 หน่วยกิต
- 2500101 พฤติกรรมมนุษย์กับการพัฒนาตน 3(3-0)
- 2000101 สุนทรียภาพของชีวิต 3(3-0)
(3) กลุ่มวิชาสังคมศาสตร์ เรียนไม่น้อยกว่า 3 หน่วยกิต แต่ไม่เกิน 6 หน่วยกิต
- 2500103 วิถีโลก 3(3-0) และ/หรือ
- 2500104 ชีวิตกับสิ่งแวดล้อม 3(3-0)
(4) กลุ่มวิชาคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เรียนไม่น้อยกว่า 3 หน่วยกิต แต่ไม่เกิน 6 หน่วยกิต
- 4000102 การคิดและการตัดสินใจ 3(2-2) และ/หรือ
- 4000108 เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการเรียนรู้ 3(2-2)

2. หมวดวิชาเฉพาะด้าน (แขนงวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ) 49 หน่วยกิต
(1) กลุ่มวิชาเนื้อหา 35 หน่วยกิต
1.1 บังคับเรียน 24 หน่วยกิต
- 1551606 ภาษาอังกฤษธุรกิจ 2 3(3-0)
- 3503901 การวิจัยทางธุรกิจ 3(2-2)
- 3504101 จริยธรรมทางธุรกิจ 3(3-0)
- 3564201 การจัดการเชิงกลยุทธ์ 3(3-0)
- 3593301 การวิเคราะห์เชิงปริมาณ 3(3-0)
- 3503201 การจัดระบบเครือข่ายและการสื่อสารข้อมูลธุรกิจด้วยคอมพิวเตอร์ 3(2-2
- 4122502 การวิเคราะห์และออกแบบระบบ 1 3(2-2)
- 4121202 การเขียนโปรแกรมภาษาคอมพิวเตอร์ 1 3(2-2)

1.2 เลือกเรียน ให้เลือกเรียนรายวิชาต่อไปนี้ไม่น้อยกว่า 12 หน่วยกิต
- 3503202 การจัดการงานเลขานุการและธุรการด้วยคอมพิวเตอร์ 3(2-2)
- 3503203 การประมวลผลการวิจัยทางธุรกิจด้วยคอมพิวเตอร์ 3(2-2)
- 3504201 การจัดการของคงคลังด้วยคอมพิวเตอร์ 3(2-2)
- 3504202 การวางระบบบัญชีด้วยคอมพิวเตอร์ 3(2-2)
- 3562104 การจัดการธุรกิจด้วยคอมพิวเตอร์ 3(2-2)
- 35694908 การสัมมนาคอมพิวเตอร์ 3(2-2)
- 4091606 คณิตศาสตร์สำหรับคอมพิวเตอร์ 3(3-0)
- 4121103 การเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์และอัลกอริทึ่ม 3(2-2)
- 4121301 โปรแกรมภาษาเบสิก 1 3(2-2)
- 4121302 โปรแกรมภาษาโคบอล 1 3(2-2)
- 4122201 ฐานข้อมูลเบื้องต้น 3(2-2)
- 4122202 โครงสร้างข้อมูล 3(2-2)
- 4122203 การประมวลผลแฟ้มข้อมูล 3(2-2)
- 4122401 ภาษาคอมพิวเตอร์ 3(2-2)
- 4122602 โปรแกรมประยุกต์ด้านการจัดการสำนักงานอัตโนมัติ 3(2-2)
- 4122603 คอมพิวเตอร์กราฟิก 3(2-2)
- 4122606 โปรแกรมประยุกต์ด้านระบบสารสนเทศเพื่อการบริหาร 3(2-2)
- 4122701 ระบบคอมพิวเตอร์และสถาปัตยกรรม 3(2-2)
- 4123601 โปรแกรมประยุกต์ด้านสถิติและวิจัย 1 3(2-2)
- 4123603 โปรแกรมประยุกต์ด้านการเงินและการบัญชี 3(2-2)
- 4123604 โปรแกรมประยุกต์ด้านการควบคุมสินค้า 3(2-2)
- 4123605 โปรแกรมประยุกต์ด้านงานทะเบียนบุคคลและการจ่ายเงินเดือน 3(2-2)
- 4123607 การประยุกต์ใช้คอมพิวเตอร์ในงานธุรกิจ 3(2-2)
- 4123611 การประยุกต์ใช้คอมพิวเตอร์ในด้านการธนาคาร 3(2-2)
- 4123612 คอมพิวเตอร์ช่วยสอน 3(2-2)4123613 คอมพิวเตอร์ช่วยออกแบบ 3(2-2)
- 4123615 โปรแกรมประยุกต์ด้านงานธุรการ 3(2-2)
- 4123619 การประยุกต์ใช้มัลติมีเดีย 3(2-2)
- 4123702 ระบบการสื่อสารข้อมูล 3(2-2)
- 4123903 หัวข้อพิเศษเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ 3(2-2)
- 4124501 ปัญญาประดิษฐ์ 3(2-2)
ข้อกำหนดเฉพาะ
1) ในกรณีเคยเรียนรายวิชาบังคับในระดับอนุปริญญาตามหลักสูตรของสถาบันราชภัฏแล้วให้เลือกเรียนรายวิชาเลือกในแขนงวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจตาม 1.2 แทน
2) ผู้ที่ไม่เคยเรียนรายวิชาต่อไปนี้
- 3592101 เศรษฐศาสตร์จุลภาค 1
- 3592102 เศรษฐศาสตร์มหภาค 1
- 3521101 การบัญชี 1
- 3521102 การบัญชี 2
- 4112105 สถิติธุรกิจ
- 3531101 การเงินธุรกิจ
- 3541101 หลักการตลาด
ให้เรียนโดยไม่นับหน่วยกิตรวม ในเกณฑ์การสำเร็จการศึกษา
3) สำหรับผู้ที่เคยสอบได้รายวิชาที่มีเนื้อหาเทียบเท่าหรือเคยสอบได้รายวิชาที่สูงกว่ารายวิชาที่กำหนดไว้ใน ข้อ 2) มาแล้วในระดับอนุปริญญาหรือเทียบเท่าให้ยกเว้นไม่ต้องเรียน

(2) กลุ่มวิชาวิทยาการจัดการบังคับเรียน 9 หน่วยกิต
- 3524301 การบัญชีเพื่อการจัดการ 3(3-0)
- 3543101 การบริหารการตลาด 3(3-0)
- 3562307 การบริหารการผลิต 3(3-0)
ข้อกำหนดเฉพาะ
1) ผู้ที่เรียนแขนงวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจในระดับปริญญาตรี (หลังอนุปริญญา) ต้องผ่านการศึกษารายวิชาคอมพิวเตอร์ไม่น้อยกว่า 15 หน่วยกิต
2) ผู้ที่ไม่เคยเรียนรายวิชา 3561101 องค์การและการจัดการ และ 3532202 การภาษีอากรธุรกิจ ให้เรียนโดยไม่นับหน่วยกิตรวมในเกณฑ์กาสำเร็จการศึกษา
3) สำหรับผู้ที่เคยสอบได้รายวิชาที่มีเนื้อหาเทียบเท่าหรือเคยสอบได้รายวิชาที่สูงกว่ารายวิชาที่กำหนดไว้ในข้อ 2) มาแล้วในระดับอนุปริญญาหรือเทียบเท่าให้ยกเว้นไม่ต้องเรียน
4) กรณีที่เคยเรียนรายวิชาบังคับของกลุ่มวิทยาการจัดการมาแล้วในระดับอนุปริญญา ให้เลือกเรียนรายวิชาเลือกในแขนงวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจที่กำหนดไว้ใน 1.2 แทน

(3) กลุ่มวิชาเตรียมฝึกประสบการณ์และฝึกประสบการณ์วิชาชีพ 5 หน่วยกิต
- 3503811 การเตรียมฝึกประสบการณ์วิชาชีพบริหารธุรกิจ 2-2(90)
- 3504808 การฝึกประสบการณ์วิชาชีพบริหารธุรกิจ 2-3(210)

3. หมวดวิชาเลือกเสรี 6 หน่วยกิตให้เลือกเรียนรายวิชาใด ๆ ในหลักสูตรมหาวิทยาลัยราชภัฏ โดยไม่ซ้ำกับรายวิชาที่เคยเรียนมาแล้ว และต้องไม่เป็นรายวิชาที่กำหนดให้เรียนโดยไม่นับหน่วยกิตรวมเป็นเกณฑ์ในการสำเร็จหลักสูตรของโปรแกรมวิชานี้เขียนโดย จีรภา สัมพันธ์เจริญกุล วิชาเตรียมฝึก
ประสบการณ์วิชาชีพ

วิธีการสร้างบล๊อค

การสมัครเขียนบล็อกฟรี ที่ Blogger.com

1. เข้าสมัครสมาชิกได้ที่เว็บไซต์ http://www.blogger.com/


2. คลิกที่เริ่มสร้างบล็อกที่ CREATE YOUR BLOG NOW




3. กรอกรายละเอียดส่วนตัว ชื่อล็อกอิน / รหัสผ่าน / ชื่อบล็อก / อีเมล์เสร็จแล้วคลิกปุ่ม Continue




4. ระบุรายละเอียดของบล็อกBlog title : ระบุชื่อบล็อกBlog address (URL) : ชื่อยูอาแอลสำหรับเรียกใช้งาน http://arnut.blogpot.comworld/ Verification : พิมพ์รหัสที่ระบบบอกมาเสร็จแล้วคลิกปุ่ม Continu



5 . ระบบจะแสดง Template ให้เลือกใช้งานหลายแบบ ให้ทำการคลิกเลือก Template ที่ต้องการเสร็จแล้วคลิกปุ่ม Continue




6 . ระบบแสดงข้อความกำลังทำการสร้าง blog ให้อยู่



7. ทำการสร้าง blog เสร็จแล้วให้คลิกปุ่ม START POSTING เพื่อทดสอบเข้าใช้งาน




8. พิมพ์รายละเอียดข้อความแรกในบล็อก หลังพิมพ์ฺเสร็จสามารถคลิก preview ดูผลก่อนได้ เสร็จแล้วคลิกปุ่ม Publish Post



9. เสร็จสิ้นการติดตั้งเว็บบล็อกให้คลิกที่ View Blog เพื่อดูผล



10. แสดงบล็อกส่วนตัวที่สร้างเสร็จแล้วสังเกต url ด้านบนจะเป็น http://arnut.blogspot.com/





11. ที่นี้กรณีที่ต้องการเขียน Blog เพิ่มเติม หรือเข้าไปแก้ไข Blog สามารถล็อกอินเข้าได้ที่http://www.blogger.com/startพิมพ์ชื่อ username / Password เสร็จแล้วคลิกปุ่ม SIGN IN เพื่อเข้าระบบ



12. จะเข้าสู่หน้าต่างผู้ดูแลบล็อกสำหรับแก้ไข และปรับแต่งข้อมูลต่างๆ ดังรูปทำการแก้ไขข้อมูลต่างๆ ตามต้องการ




สรุป : ในการสร้างบล็อกนั้นสามารถทำได้สองแบบคือ

1. การติดตั้งโปรแกรมทำ Blog ขึ้นใช้งานเองสำหรับบริการพนักงานใน office เลย ตัวอย่างโปรแกรมสร้าง blog เช่น WordPress, b2evolution, Nucleus, pMachine, MyPHPblog, Movable Type, Geeklog, bBlog (วิธีนี้ท่านต้องมีเครื่องเว็บเซิร์ฟเวอร์ในการใช้งานเองอาจทำเป็น Intranet Blog หรือ Internet Blog ก็ได้)
2. การใช้งานบล็อกฟรี จากเว็บที่เปิดให้บริการ ปัจจุบันมีเว็บเปิดให้บริการหลายเว็บอาทิ เช่น
Blogger.com (en), Bloglines.com (en), Exteen.com (th), Bloggang.com(th)*

วิธีการสร้างจดหมายเวียน

การทำจดหมายเวียนนั้น จะใช้ wizard ซึ้งจะทำไปที่ละขั้นตอนโดยมีขั้นตอนการทำงานทั้งหมด 6 ขั้นตอนดังนี้

ขั้นที่ 1: เลือกประเภทของไปรษณีย์ผนวก





ขั้นที่ 2 : เลือกเอกสารที่จะนำมาใช้



ขั้นที่ 3: สร้างฐานข้อมูลรายชื่อผู้รับ ในขั้นตอนนี้จะกำหนดแหล่งข้อมูลของผู้รับเช่น ชื่อ ที่อยู่ ซึ้งอาจอยู่ในไฟล์ของ Excel,Access, รายชื่อผู้ที่ติดต่อด้วยของ Qutlook หรือแม้แต่ไฟล์ของ Word ก็ได้เช่นกัน แต่ทั้งนี้ข้อมูลแต่ละฟีลด์ เช่น ฟีลด์ชื่อ หรือฟีลด์นามสกุล จะต้องคั่นด้วยแท็บ และข้อมูลของผู้รับแต่ละคนต้องอยู่กันคนละบรรทัด หรือคุณอาจเลือกวิธีสร้างฐานข้อมูลและใส่ข้อมูลลงไปใหม่เลยก็ได้ดังรูป คลิก พิมพ์รายการใหม่ คลิก สร้าง เพื่อสร้างฐานข้อมูลใหม่ ป้อนข้อมูลของผู้รับลงไป ฟีลด์ใดที่ไม่ใช้ให้คลิกปุ่ม กำหนดเอง แล้วลบฟีลด์นั้นทิ้ง กำหนดชื่อที่จะบันทึกเป็นฐานข้อมูล คลิกเลือกชื่อผู้รับ



ขั้นที่ 4: วางองค์ประกอบในจดหมาย



ขั้นที่ 5: ดูตัวอย่าง



ขั้นที่ 6:พิมพ์จดหมาย


เมื่อเราทำครบทุกขั้นตอนก็จะได้จดหมายเวียนตามที่เราต้องการครับ

ข้อควรปฏิบัติเมื่อฝึกงาน

1. อย่าไปสาย การเริ่มฝึกงานวันแรก บางหน่วยงานจะจัดผู้รับผิดชอบสำหรับนักเรียน/นักศึกษาที่ฝึกงานไว้เรียบร้อยแล้ว ซึ่งในวันนี้จะต้องมีการแนะนำงาน สถานที่ แนะนำบุคลากร การปฏิบัติตนในขณะทำงาน หรือรายละเอียดปลีกย่อยอื่น ๆ และกรณีที่นักเรียน/นักศึกษา ไปฝึกงานด้วยกัน ซึ่งแต่ละสถานศึกษามักจะส่งรายชื่อให้สถานประกอบการ อย่างน้อย 2 คน ก็จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเข้ารับการปฐมนิเทศจากผู้รับผิดชอบในเวลาพร้อมเพรียงกัน (นัดแนะให้เรียบร้อย) จะทำให้ไม่เสียเวลากับหน่วยงานนั้น ๆ เป็นการสร้างความประทับใจครั้งแรกให้กับสถานประกอบนั้นๆ ไม่ไปตรงเวลา คงจะต้องบอกว่า ให้ไปก่อนเวลาปฏิบัติงาน ยิ่งถ้าเป็นงานเอกชน อย่าลืมว่าทุกเวลานาทีของเขาเป็นเงินทองที่ต้องได้ต้องเสีย

2. พบแผนกบุคคล กรณีที่นักเรียน/นักศึกษาไม่ได้ไปยื่นสมัครขอฝึกงานด้วยตัวเอง แต่สถานศึกษาเป็นผู้ติดต่อให้ ก็จำเป็นอย่างยิ่งที่ นักเรียน/นักศึกษาจะต้องถามรายละเอียดเบื้องต้นกับครูผู้ดูแลการฝึกงานว่า จะให้ติดต่อกับใคร เพื่อเตรียมพร้อมก่อนจะไปฝึกงาน หรือกรณีที่ไม่รู้ข้อมูล ก็สามารถติดต่อกับแผนกบุคคลหรือแผนกทรัพยากรมนุษย์ (ปัจจุบันหน่วยงานใหญ่จะนิยมใช้คำนี้) ส่วนการฝึกงานต่างจังหวัด ถ้าเป็นหน่วยงานราชการส่วนใหญ่มักจะให้งานประชาสัมพันธ์หรืองานธุรการเป็นผู้รับผิดชอบด่านแรกของหน่วยงานนั้น ๆ และ ถ้าเป็นสถานประกอบการขนาดเล็ก ก็สามารถไปพบเจ้าของสถานประกอบการแห่งนั้นๆ ได้เลย การสอบถามล่วงหน้าก็เป็นอีกวิธีหนึ่งที่พึ่งปฏิบัติ เพื่อจะทำให้สถานประกอบการได้เตรียมตัวหรือรับทราบว่าจะมีเด็กหน้าใสๆ มาร่วมงาน โดยการโทรศัพท์บอกกล่าวว่า เป็นนักเรียน/นักศึกษาที่จะมาฝึกงาน และอาจจะสอบถามเพิ่มเติมได้ว่าจะติดต่อกับใครเมื่อไปถึงสถานประกอบการนั้น ๆ หรือกรณีที่ไปติดต่อเอง บุคคลที่สัมภาษณ์หรือให้ข้อมูลและตัดสินใจในวันที่ไปสมัครก็น่าจะเป็นผู้ที่รับผิดชอบ สำหรับนักเรียน/นักศึกษาของวิทยาลัยเกษตรฯ อาจจะแตกต่างจากที่อื่นคือ ครูจะไปพร้อมกับนักเรียน/นักศึกษา ซึ่งสร้างความอบอุ่นใจให้กับผู้จะฝึกงานและสร้างความสัมพันธ์อันดีให้กับสถานประกอบการ ต้องขอบอกว่า ข้อควรปฏิบัตินี้ไม่ควรจะละเลยและไม่ควรจะจางหายไป

3. อย่าอายที่จะถาม เมื่อไปแล้วไม่พบผู้ที่ได้รับข้อมูลมา ก็คงจะต้องสอบถามให้ได้ อย่าท้อแล้วรีบเปลี่ยนสถานประกอบการไปก่อนหล่ะ เพราะสถานประกอบการ เวลาทำงานอาจจะแตกต่างจากหน่วยงานทั่วไปหรืออาจจะมีงานด่วน งานรีบ งานเร่ง ที่ลืมที่จะให้ใครรับผิดชอบเรื่องนี้ การแต่งกาย รวมถึง เสื้อผ้า หน้า ผม เครื่องแบบของสถานศึกษานักเรียนหญิง/ชาย ก็ควรเป็นไปตามที่สถานศึกษากำหนด นอกเสียจากสถานประกอบการนั้น ๆ มีเครื่องแบบสำหรับนักเรียน/นักศึกษาฝึกงาน มีหลายหน่วยงานจะมีป้ายบอกว่า เป็นนักเรียนฝึกงาน หรือ trainee ติดไว้ และก็คงจะต้องไม่ลืมว่า เราคงจะต้องติดไว้ตลอดจนเสร็จสิ้นระยะเวลาการฝึกงาน อีกสิ่งหนึ่งที่สังเกตได้คือ รองเท้าที่นักศึกษาหญิง เมื่อไปฝึกงานระยะแรกจะสวมรองเท้าได้ถูกระเบียบ จากนั้นก็จะลากรองเท้าแตะ แม้ที่ทำงานอนุญาตก็คิดว่า ไม่น่าจะเหมาะสมกับสถานภาพของการฝึกงาน ในทำนองเดียวกันกับนักศึกษาชาย โดยเฉพาะนักศึกษาแผนกวิชาทางด้านอุตสาหกรรมก็ยิ่งมีความจำเป็นทึ่จะต้องแต่งกายในอยู่ในระเบียบและรัดกุม เพราะเครื่องมืออุปกรณ์ต่าง ๆ ที่จะต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ เครื่องแบบเป็นสิ่งที่บ่งบอกถึงสถานศึกษานั้น ๆ ก็คงจะต้องให้นักศึกษาตระหนักว่า สิ่งที่บุคคลภายนอกเห็นนั้นจะบอกกล่าวต่อ ในภาพบวกหรือภาพลบ ทรงผมก็คงจะต้องบอกกล่าวในที่นี้ ว่า คำว่าเหมาะสมกับสภาพนักเรียน/นักศึกษา เพราะเทรนด์ทรงผมแต่ละยุคสมัยของวัยรุ่น มองอย่างไรมันไม่ก็ค่อยเหมาะกับการทำงาน คงต้องระวังในเรื่องนี้เช่นกัน

4. เอกสารประกอบการฝึก เอกสารต่าง ๆ ได้แก่ หนังสือรายงานตัวการฝึกงาน บันทึกการฝึกงาน (รายละเอียดและประวัติส่วนตัวต่าง ๆ บันทึกให้ครบถ้วน) ยกเว้นผู้ควบคุมดูแลการฝึกที่จะได้รายละเอียดในวันแรกที่ฝึกงาน แบบการประเมิน (ทางด้านพฤติกรรม) อย่าลืมที่จะสอบถามว่าใครจะเป็นผู้ลายมือชื่อกำกับดูแลควบคุมการทำงานแต่ละวัน

5. พยายามจำชื่อ ในการทำงานวันแรก จะต้องจดจำชื่อ เพื่อนร่วมงานให้ได้ รวมถึงหน้าที่การงาน

6. อย่าลืมว่า เพื่อนร่วมงาน เปรียบเสมือนครูฝึกของเรา ฉะนั้นการปฏิบัติตนกับผู้ร่วมงานต้องมีสัมมาคารวะ และต้องการยอมรับความจริงว่า เราเข้าสู่โลกของการทำงานจริง จะมีสถานการณ์ต่าง ๆ เกิดขึ้น ไม่ว่า จะเป็นเรื่องการนินทาว่าร้าย การทะเลาะวิวาท ความไม่พึงพอใจ การอิจฉาริษยา ซึ่งก็ไม่ควรนำเรื่องเหล่านั้นมาเล่าต่อหรือจับกลุ่มนินทาร่วมกันกับคนที่ทำงาน ระยะเวลาที่ พวกเรามาฝึกงานนานที่สุดไม่น่าจะเกิน 1 ภาคเรียน เพราะฉะนั้น ท่องจำคำว่า อดทนให้ได้ แยกแยะให้ได้ว่า สิ่งใดควรจะทำหรือไม่ทำและเปรียบเทียบถึงผลที่จะตามมา และอย่าลืมว่า พวกเรายังมีครูนิเทศ ครูที่ปรึกษาที่จะให้คำแนะนำได้ตลอดเวลา

7. ยิ้ม หน้าตาคงจะเปลี่ยนแปลงไปได้ยาก แต่การยิ้มเป็นเสน่ห์ที่ทุกคนมีอยู่ในตัว ให้ยิ้มมาจากใจไม่ใช่ฝืน

8. เตรียมพร้อมที่จะต้องฟังการนิเทศอีกครั้งหนึ่ง สมุด ปากกา เตรียมให้พร้อมที่จะจดหรือบันทึก และต้องนั่งฟังอย่างตั้งใจ เวลาตรงนี้คงไม่มากเท่ากับการปฐมนิเทศจากสถานศึกษา เพราะสถานประกอบการคงต้องใช้เวลาเพื่อการทำงานให้มากที่สุด วันแรกของการฝึกงาน จะเป็นวันแห่งความตื่นเต้นของนักเรียน/นักศึกษาฝึกงานทุกคน บ้างประทับใจ กับวันแรกที่ไป บ้างถอดใจกับวันนี้ ก็คงจะต้องบอกว่า สร้างความมั่นใจในตัวเองมากที่สุด