20 กรกฎาคม 2552

ฝึกงานสัปดาห์ที่ 5

วันที่ 13 ก.ค. - 17 ก.ค.52

13 ก.ค.52 บันทึกการซื้อ-ขายและการโอนที่ดินในคอมพิวเตอร์
14 ก.ค.52 บันทึกการปลี่ยนปลงการซื้อ-ขายที่ดินและสิ่งปลูกสร้างในคอมพิวเตอร์
15 ก.ค.52 บันทึกการโอนที่ดินและการแบ่งแยกที่ดินในคอมพิวเตอร์
16 ก.ค.52 บันทึกการชำระภาษีบำรุงท้องที่ในคอมพิวเตอร์
17 ก.ค.52 บันทึกการชำระภาษีบำรุงท้องที่ในคอมพิวเตอร์

ฝึกงานสัปดาห์ที่ 4

วันที่ 9 ก.ค. - 10 ก.ค.52

9 ก.ค.52 บันทึกการชำระภาษีบำรุงท้องที่ในคอมพิวเตอร์
10 ก.ค.52 บันทึกการชำระภาษีบำรุงท้องที่ในคอมพิวเตอร์

ฝึกงานสัปดาห์ที่ 3

วันที่ 29 มิ.ย. - 3 ก.ค. 52

29 มิ.ย.52 เช็คข้อมูลการชำระภาษีในสมุดคุมและในโปรแกรมแผนที่ภาษี
30 มิ.ย.52 เช็คข้อมูลการชำระภาษีในสมุดคุมและในโปรแกรมแผนที่ภาษี
1 ก.ค.52 เช็คข้อมูลการชำระภาษีในสมุดคุมและในโปรแกรมแผนที่ภาษี
2 ก.ค.52 เช็คข้อมูลการชำระภาษีในสมุดคุมและในโปรแกรมแผนที่ภาษี
3 ก.ค.52 เช็คข้อมูลการชำระภาษีในสมุดคุมและในโปรแกรมแผนที่ภาษี

ฝึกงานสัปดาห์ที่ 2

วันที่ 22 มิ.ย. - 26 มิ.ย.52

22 มิ.ย.52 บันทึกการชำระภาษีบำรุงท้องที่ในทะเบียนคุมผู้ชำระภาษี
23 มิ.ย.52 บันทึกการชำระภาษีบำรุงท้องที่ในคอมพิวเตอร์
24 มิ.ย.52 บันทึกการชำระภาษีบำรุงท้องที่ในคอมพิวเตอร์
25 มิ.ย.52 บันทึกการชำระภาษีบำรุงท้องที่ในคอมพิวเตอร์
26 มิ.ย.52 บันทึกการชำระภาษีบำรุงท้องที่ในคอมพิวเตอร์

ฝึกงานสัปดาห์ที่ 1

วันที่ 15 มิ.ย. - 19 มิ.ย. 52

15 มิ.ย.52 บันทึกข้อมูลการเก็บภาษีโรงเรือนและภาษีป้ายในโปรแกรม
16 มิ.ย.52 ทำสมุดเลขที่แปลงที่ดินเพื่อเก็บโฉนดที่ดิน
17 มิ.ย.52 ปริ้นแผนที่เพื่อสำรวจเลขที่บ้านสำหรับจัดเก็บค่าน้ำประปา
18 มิ.ย.52 ปริ้นแผนที่ทั้งหมดในเขตรับผิดชอบของเทศบาลเมืองไร่ขิง
19 มิ.ย.52 บันทึกการชำระภาษีบำรุงท้องที่ในทะเบียนคุมผู้ชำระภาษี

29 เมษายน 2552

ขั้นตอนการสมัครงาน

1. การเตรียมตัวก่อนการสมัครงาน

2. การกรอกใบสมัคร

3. การเขียนประวัติย่อ (RESUME)

4. การเขียนจดหมายสมัครงาน

5. การสอบข้อเขียน หรือการทดสอบความสามารถ

6. การสัมภาษณ์

7. การติดตามผล

1. การเตรียมตัวก่อนการสมัครงานได้แก่
การเตรียมตัว เตรียมใจ เตรียมบุคลิกท่าทาง ตลอดจนเตรียมหลักฐานเอกสารต่าง ๆ ที่จำเป็นต้องใช้ ในการสมัครงานไว้ให้พร้อม เช่นบัตรประชาชน ทะเบียนบ้าน ใบรับรองผลการศึกษา ประกาศนียบัตร ปริญญาบัตร ประวัติย่อ ซึ่งหลักฐานเหล่านี้ ควรมีการ ถ่ายเอกสาร เตรียมไว้เป็นชุด ๆ หลาย ๆ ชุด เพื่อพร้อมที่จะใช้ได้ทันทีรูปถ่ายขนาด 2 นิ้ว เขียนชื่อ-นามสกุล หลังรูป จดหมายรับรองการฝึกงาน (ถ้าเคยฝึกงาน)หนังสือรับรองการทำกิจกรรมนิสิต ใบยกเว้นการรับราชการทหารเครื่องใช้ในการกรอกใบสมัคร ปากกา (ดำหรือน้ำเงิน) ยางลบ ไม้บรรทัดชื่อที่อยู่ของผู้ที่เราจะอ้างอิงถึง (ขออนุญาตเสียก่อน) เสื้อผ้าชุดที่เรียบร้อยที่สุดหรือชุดที่ทำให้เรามั่นใจมากที่สุด ข้อมูลเกี่ยวกับบริษัท-หน่วยงานที่เราต้องการสมัคร รวมทั้งลักษณะงานในตำแหน่งที่สมัคร

2. การกรอกใบสมัคร
ใบสมัครนับเป็นเครื่องมือลำดับแรกในการคัดเลือกบุคลากรเข้าทำงาน เพราะส่วนใหญ่ใช้วิธีการคัดเลือกผู้สมัครเข้ารับการสัมภาษณ์ โดยพิจารณาจากรายละเอียดในใบสมัคร เช่น กิจกรรมที่เคยทำขณะศึกษาอยู่ลักษณะของงานและความรับผิดชอบที่มีอยู่ นอกจากนี้ ผู้สัมภาษณ์ยังใช้ศึกษาเพื่อทำความคุ้นเคยกับผู้สมัครและจะเตรียมการซักถามเพิ่มเติมถึงรายละเอียดในบางหัวข้อ ขณะทำการสัมภาษณ์ ดังนั้น ผู้สมัครจึงควรทำความเข้าใจกับใบสมัครก่อนที่จะกรอกเพื่อจะได้กรอกได้อย่างถูกต้องเรียบร้อยและดึงดูดความสนใจ ของผู้พิจารณาใบสมัคร

3. การเขียนประวัติย่อ (RESUME)
คำว่า "Resume" นี้ มาจากภาษาฝรั่งเศส ว่า resume ซึ่งก็มีความหมายว่า Summary แปลเป็นไทยว่า สรุป หรือ ย่อ ฉะนั้นเวลาเขียนจะใช้สะกดแบบฝรั่งเศส หรือแบบอังกฤษก็ได้ด้วยกันทั้งสองแบบปัจจุบันนี้ Resume นับว่ามีความสำคัญเท่า ๆ กับจดหมายสมัครงาน (Application Letter) ก็แทบจะว่าได้ จะเห็นได้จาก ข้อความที่ลงโฆษณางานตามหนังสือพิมพ์ หรือนิตยสารต่าง ๆ โดยฝ่ายนายจ้างจะบอกให้ผู้สมัครส่ง Resume แนบไปพร้อม กับจดหมายสมัครงานด้วย ดังจะดูได้จากข้อความที่ลงโฆษณา ซึ่งจะระบุโดยละเอียดว่าผู้สมัครต้องแนบเอกสารอะไร ไปพร้อมกับจดหมายนี้บ้าง เช่น

3.1. Please submit application letter stating expected salary, resume and a recent photo to ... (โปรดยื่นจดหมายสมัครงานพร้อมทั้งแจ้งเงินเดือนที่ต้องการ พร้อมทั้งแนบประวัติย่อและรูปถ่ายปัจจุบันหนึ่งรูปไปที่ ....)

3.2. Please send handwritten application, resume, transcript and a recent photo to ... (โปรดส่งจดหมายสมัครงานเขียนด้วยลายมือแนบประวัติย่อ ผลการศึกษาและรูปถ่ายปัจจุบันไปยัง....)รายละเอียดในประวัติย่อResume เปรียบเสมือนเครื่องเปิดประตูที่ดี กล่าวคือ ให้รายละเอียดเกี่ยวกับตัวผู้สมัครได้โดยย่อ และสามารถทำให้ผู้อ่านเข้าใจได้ ภายในเวลาอันรวดเร็ว นอกจากนี้ ยังเปรียบได้กับใบโฆษณาคุณสมบัติของตนเองอีกด้วย เมื่อเป็นเช่นนี้ ผู้เขียนก็ต้องให้ความสนใจ เป็นพิเศษว่าใน Resume นั้น ควรจะต้องประกอบด้วยรายละเอียดอะไรบ้าง และมีระเบียบที่จะต้องปฏิบัติอย่างไรลักษณะของ Resume ที่ดี
  • ยาวไม่เกิน 2 หน้ากระดาษ ซึ่งมีขนาด A4 (หรือประมาณ 8"x12") และเป็นกระดาษสีขาว มีคุณภาพ แต่ถ้าเป็นนักศึกษาจบใหม่ ด้วยแล้ว ควรจะเขียนให้จบในหนึ่งหน้ากระดาษเท่านั้น และรวมเฉพาะรายละเอียดที่จำเป็น และต่อประเด็นจริง ๆ เท่านั้น
  • อย่าใช้คำย่อในคำที่ไม่ควรย่อ เช่น วันเดือนปีเกิด ควรเขียนคำเต็ม ส่วนคำอื่น ๆ ถ้าจะย่อหรือไม่ย่อนั้น ให้ดูตามหลักสากลนิยมเป็นตัวอย่าง
  • ในกรณีที่ระบุงานอดิเรกเข้าไว้ด้วย ควรระวังว่างานอดิเรกที่เราเอ่ยถึงนั้นมีความเหมาะสมกับงานที่เราสมัครหรือเปล่า

4. การเขียนจดหมายสมัครงาน
การเขียนจดหมายสมัครงานต้องพิมพ์ให้สะอาดเรียบร้อยด้วยกระดาษพิมพ์ขนาดสั้น (8x1/2" x 11") ทุกครั้ง แต่ถ้าในประกาศรับสมัครระบุให้เขียนด้วยลายมือตนเอง ก็ควรเขียนตัวบรรจง ให้อ่านง่ายสะอาดเรียบร้อยและสวยงามควรมีความยาวจำกัดเพียง 1 หน้ากระดาษใช้ฟอร์มการเขียนแบบจดดหมายธุรกิจ และต้องปราศจากข้อผิดพลาดใด ๆ ทั้งสิ้นควรกล่าวเจาะจงนามบุคคลแทนการกล่าวตำแหน่งหรือผู้เกี่ยวข้อง (คุณ...แทน ผู้จัดการฝ่ายบุคคล) แต่ถ้าไม่แน่ใจว่าจะสามารถสะกด ชื่อ-นามสกุล ได้อย่างถูกต้อง หรือไม่ทราบแน่ชัดว่าเป็นใครก็ควรจะใช้ "ผู้จัดการฝ่ายบุคคล" หรืออื่น ๆ ที่ประกาศรับสมัครงานระบุไว้ต้องส่งพร้อม RESUME ทุกครั้ง ข้อมูลที่ปรากฏอยู่บนจดหมายแนะนำหรือจดหมายสมัครงานควรที่จะทำให้นายจ้างหรือแผนกบุคคลสนใจและเรียกตัวเข้าสัมภาษณ์ ข้อมูลที่กล่าวนี้อาจแบ่งออกเป็น 3 ส่วน ดังนี้

4.1. คุณเป็นใคร และทำไมคุณจึงเขียนจดหมายส่งไปยังบริษัท
4.2. กล่าวถึงความสามารถของคุณที่คาดว่าจะมีคุณค่าต่อบริษัท
4.3. กล่าวถึงความสนใจของคุณที่มีต่อบริษัทโดยการพูดถึงสิ่งที่เด่นเป็นเอกลักษณ์ของบริษัท เพื่อแสดงให้เห็นว่าคุณได้สละเวลาศึกษาค้นคว้าความรู้เกี่ยวกับบริษัท

โดยสรุปแล้วย่อหน้าสุดท้ายของจดหมายสมัครงานมีไว้เพื่อ
1. ขอนัดเวลาสัมภาษณ์
2. ขอฟังคำตอบจากนายจ้างหรือแผนกบุคคล
3. บอกว่าคุณจะติดต่อภายหลังโปรดจำไว้เสมอว่าจดหมายสมัครงานต้องส่งควบคู่กับ RESUME ทุกครั้ง

หลักสูตรโปรแกรมวิชาการบริหารธุรกิจ (คอมพิวเตอร์ธุรกิจ)

หลักสูตรโปรแกรมวิชาการบริหารธุรกิจ (คอมพิวเตอร์ธุรกิจ)
โปรแกรมวิชาการบริหารธุรกิจ แขนงวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ ระดับปริญญาตรี (หลังอนุปริญญา)หลักสูตรโปรแกรมวิชาการบริหารธุรกิจ แขนงวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจBachelor of Business Administration Program in Business Computerชื่อ ปริญญา ชื่อเต็ม : ปริญญาการบริหารธุรกิจบัณฑิต (คอมพิวเตอร์ธุรกิจ)Bachelor of Business Administration (Business Computer) ชื่อย่อ : บธ.บ. (คอมพิวเตอร์ธุรกิจ)B.B.A. (Business Computer)

จุดประสงค์เฉพาะ

1. เพื่อผลิตบุคลากรที่มีความรู้ ความสามารถในการบริหารธุรกิจระดับวิชาชีพ (Professional) ในวิชาบริหารธุรกิจเฉพาะทาง ในวิชาการด้านต่าง ๆ ที่สามารถนำไปประกอบอาชีพได้อย่างมีประสิทธิภาพ
2. เพื่อผลิตบุคลากรที่มีความรู้ความเข้าใจในระบบเศรษฐกิจและสังคม สามารถนำไปใช้ในการตัดสินใจ ดำเนินธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ
3. เพื่อผลิตบุคลากรที่สามารถติดตามและปรับตัวให้เข้ากับสภาพการเปลี่ยนแปลง ความก้าวหน้าในเทคโนโลยีฯ และการบริหารธุรกิจในงานอาชีพ
4. เพื่อผลิตบุคลากรที่มีเจตคติและค่านิยมในการประกอบอาชีพอิสระอย่างมีคุณภาพ จริยธรรม และปัญญาธรรมโครงสร้างหลักสูตรมีหน่วยกิตการเรียนตลอดหลักสูตรในแขนงวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจไม่น้อยกว่า 73 หน่วยกิต และมีสัดส่วนหน่วยกิต แต่ละหมวดวิชาและแต่ละกลุ่มวิชา ดังนี้

1. หมวดวิชาการศึกษาทั่วไป 18 หน่วยกิต
(1) กลุ่มวิชาภาษาและการสื่อสาร 3 หน่วยกิต
- 1500103 ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารและทักษะการเรียน 3(3-0)
(2) กลุ่มวิชามนุษยศาสตร์ 6 หน่วยกิต
- 2500101 พฤติกรรมมนุษย์กับการพัฒนาตน 3(3-0)
- 2000101 สุนทรียภาพของชีวิต 3(3-0)
(3) กลุ่มวิชาสังคมศาสตร์ เรียนไม่น้อยกว่า 3 หน่วยกิต แต่ไม่เกิน 6 หน่วยกิต
- 2500103 วิถีโลก 3(3-0) และ/หรือ
- 2500104 ชีวิตกับสิ่งแวดล้อม 3(3-0)
(4) กลุ่มวิชาคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เรียนไม่น้อยกว่า 3 หน่วยกิต แต่ไม่เกิน 6 หน่วยกิต
- 4000102 การคิดและการตัดสินใจ 3(2-2) และ/หรือ
- 4000108 เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการเรียนรู้ 3(2-2)

2. หมวดวิชาเฉพาะด้าน (แขนงวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ) 49 หน่วยกิต
(1) กลุ่มวิชาเนื้อหา 35 หน่วยกิต
1.1 บังคับเรียน 24 หน่วยกิต
- 1551606 ภาษาอังกฤษธุรกิจ 2 3(3-0)
- 3503901 การวิจัยทางธุรกิจ 3(2-2)
- 3504101 จริยธรรมทางธุรกิจ 3(3-0)
- 3564201 การจัดการเชิงกลยุทธ์ 3(3-0)
- 3593301 การวิเคราะห์เชิงปริมาณ 3(3-0)
- 3503201 การจัดระบบเครือข่ายและการสื่อสารข้อมูลธุรกิจด้วยคอมพิวเตอร์ 3(2-2
- 4122502 การวิเคราะห์และออกแบบระบบ 1 3(2-2)
- 4121202 การเขียนโปรแกรมภาษาคอมพิวเตอร์ 1 3(2-2)

1.2 เลือกเรียน ให้เลือกเรียนรายวิชาต่อไปนี้ไม่น้อยกว่า 12 หน่วยกิต
- 3503202 การจัดการงานเลขานุการและธุรการด้วยคอมพิวเตอร์ 3(2-2)
- 3503203 การประมวลผลการวิจัยทางธุรกิจด้วยคอมพิวเตอร์ 3(2-2)
- 3504201 การจัดการของคงคลังด้วยคอมพิวเตอร์ 3(2-2)
- 3504202 การวางระบบบัญชีด้วยคอมพิวเตอร์ 3(2-2)
- 3562104 การจัดการธุรกิจด้วยคอมพิวเตอร์ 3(2-2)
- 35694908 การสัมมนาคอมพิวเตอร์ 3(2-2)
- 4091606 คณิตศาสตร์สำหรับคอมพิวเตอร์ 3(3-0)
- 4121103 การเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์และอัลกอริทึ่ม 3(2-2)
- 4121301 โปรแกรมภาษาเบสิก 1 3(2-2)
- 4121302 โปรแกรมภาษาโคบอล 1 3(2-2)
- 4122201 ฐานข้อมูลเบื้องต้น 3(2-2)
- 4122202 โครงสร้างข้อมูล 3(2-2)
- 4122203 การประมวลผลแฟ้มข้อมูล 3(2-2)
- 4122401 ภาษาคอมพิวเตอร์ 3(2-2)
- 4122602 โปรแกรมประยุกต์ด้านการจัดการสำนักงานอัตโนมัติ 3(2-2)
- 4122603 คอมพิวเตอร์กราฟิก 3(2-2)
- 4122606 โปรแกรมประยุกต์ด้านระบบสารสนเทศเพื่อการบริหาร 3(2-2)
- 4122701 ระบบคอมพิวเตอร์และสถาปัตยกรรม 3(2-2)
- 4123601 โปรแกรมประยุกต์ด้านสถิติและวิจัย 1 3(2-2)
- 4123603 โปรแกรมประยุกต์ด้านการเงินและการบัญชี 3(2-2)
- 4123604 โปรแกรมประยุกต์ด้านการควบคุมสินค้า 3(2-2)
- 4123605 โปรแกรมประยุกต์ด้านงานทะเบียนบุคคลและการจ่ายเงินเดือน 3(2-2)
- 4123607 การประยุกต์ใช้คอมพิวเตอร์ในงานธุรกิจ 3(2-2)
- 4123611 การประยุกต์ใช้คอมพิวเตอร์ในด้านการธนาคาร 3(2-2)
- 4123612 คอมพิวเตอร์ช่วยสอน 3(2-2)4123613 คอมพิวเตอร์ช่วยออกแบบ 3(2-2)
- 4123615 โปรแกรมประยุกต์ด้านงานธุรการ 3(2-2)
- 4123619 การประยุกต์ใช้มัลติมีเดีย 3(2-2)
- 4123702 ระบบการสื่อสารข้อมูล 3(2-2)
- 4123903 หัวข้อพิเศษเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ 3(2-2)
- 4124501 ปัญญาประดิษฐ์ 3(2-2)
ข้อกำหนดเฉพาะ
1) ในกรณีเคยเรียนรายวิชาบังคับในระดับอนุปริญญาตามหลักสูตรของสถาบันราชภัฏแล้วให้เลือกเรียนรายวิชาเลือกในแขนงวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจตาม 1.2 แทน
2) ผู้ที่ไม่เคยเรียนรายวิชาต่อไปนี้
- 3592101 เศรษฐศาสตร์จุลภาค 1
- 3592102 เศรษฐศาสตร์มหภาค 1
- 3521101 การบัญชี 1
- 3521102 การบัญชี 2
- 4112105 สถิติธุรกิจ
- 3531101 การเงินธุรกิจ
- 3541101 หลักการตลาด
ให้เรียนโดยไม่นับหน่วยกิตรวม ในเกณฑ์การสำเร็จการศึกษา
3) สำหรับผู้ที่เคยสอบได้รายวิชาที่มีเนื้อหาเทียบเท่าหรือเคยสอบได้รายวิชาที่สูงกว่ารายวิชาที่กำหนดไว้ใน ข้อ 2) มาแล้วในระดับอนุปริญญาหรือเทียบเท่าให้ยกเว้นไม่ต้องเรียน

(2) กลุ่มวิชาวิทยาการจัดการบังคับเรียน 9 หน่วยกิต
- 3524301 การบัญชีเพื่อการจัดการ 3(3-0)
- 3543101 การบริหารการตลาด 3(3-0)
- 3562307 การบริหารการผลิต 3(3-0)
ข้อกำหนดเฉพาะ
1) ผู้ที่เรียนแขนงวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจในระดับปริญญาตรี (หลังอนุปริญญา) ต้องผ่านการศึกษารายวิชาคอมพิวเตอร์ไม่น้อยกว่า 15 หน่วยกิต
2) ผู้ที่ไม่เคยเรียนรายวิชา 3561101 องค์การและการจัดการ และ 3532202 การภาษีอากรธุรกิจ ให้เรียนโดยไม่นับหน่วยกิตรวมในเกณฑ์กาสำเร็จการศึกษา
3) สำหรับผู้ที่เคยสอบได้รายวิชาที่มีเนื้อหาเทียบเท่าหรือเคยสอบได้รายวิชาที่สูงกว่ารายวิชาที่กำหนดไว้ในข้อ 2) มาแล้วในระดับอนุปริญญาหรือเทียบเท่าให้ยกเว้นไม่ต้องเรียน
4) กรณีที่เคยเรียนรายวิชาบังคับของกลุ่มวิทยาการจัดการมาแล้วในระดับอนุปริญญา ให้เลือกเรียนรายวิชาเลือกในแขนงวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจที่กำหนดไว้ใน 1.2 แทน

(3) กลุ่มวิชาเตรียมฝึกประสบการณ์และฝึกประสบการณ์วิชาชีพ 5 หน่วยกิต
- 3503811 การเตรียมฝึกประสบการณ์วิชาชีพบริหารธุรกิจ 2-2(90)
- 3504808 การฝึกประสบการณ์วิชาชีพบริหารธุรกิจ 2-3(210)

3. หมวดวิชาเลือกเสรี 6 หน่วยกิตให้เลือกเรียนรายวิชาใด ๆ ในหลักสูตรมหาวิทยาลัยราชภัฏ โดยไม่ซ้ำกับรายวิชาที่เคยเรียนมาแล้ว และต้องไม่เป็นรายวิชาที่กำหนดให้เรียนโดยไม่นับหน่วยกิตรวมเป็นเกณฑ์ในการสำเร็จหลักสูตรของโปรแกรมวิชานี้เขียนโดย จีรภา สัมพันธ์เจริญกุล วิชาเตรียมฝึก
ประสบการณ์วิชาชีพ